WHAT'S NEW?
Loading...

มือเท้าปากเปื่อย โรคร้ายหน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวัง!!


Advertisements


โรคมือ เท้า และปาก หรือ Hand, Foot, and Mouth Disease โรคระบาดในเด็กที่มักเป็นปัญหากวนใจให้กับพ่อแม่ได้มากเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนจะพบว่าเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคมือเท้าปากสูงมากๆค่ะ


โรคมือเท้าปากเปื่อย พบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต ส่วนในผู้ใหญ่สามารถพบโรคนี้ได้บ้างแต่ไม่มากนัก

สำหรับวิธีการสังเกตุอาการของโรคมือเท้าปากเบื้องต้น ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกๆของคุณ ได้แก่ ลูกๆเริ่มมีอาการไข้ คือมีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน

นอกจากนี้ก็จะเริ่มมีอาการเจ็บปาก กินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากคล้ายๆกับอาการแผลร้อนใน และมีผื่นเป็นจุดแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขาได้เช่นเดียวกัน

โดยอาการป่วยถ้าไม่ร้ายแรงมากก็จะมีอาการมากอยู่ 2-3 วัน จากนั้นจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่มีอาการหนักมาก หรือพบว่าปัญหาแทรกซ้อน ซึ่งรุนแรงที่สุดคือ ก้านสมองอักเสบ จะทำให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับสัญญาณอันตรายที่สามารถสังเหตุได้อย่างชัดเจน ได้แก่ ซึม อ่อนแรง ชักกระตุก มือสั่น เดินเซ หอบ อาเจียน ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

การติดต่อของโรคมือเท้าปาก

1. สามารถติดต่อได้จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย

2. สามารถติดต่อได้จากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)

การรักษาโรคมือเท้าปาก  ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปากหากอาการไม่รุนแรงก็จะค่อยๆหายได้โดยไม่ต้องใช้ยา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคจากเชื้อไวรัส ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายได้ดีกว่าการรักษาประคับประคอง

ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการตามที่มี เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาความเจ็บแผล เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กโตหรือผู้ใหญ่มักมีอาการไม่มาก และเป็นอยู่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรืออาจเป็นนานกว่านั้นได้แต่พบน้อยมากๆ

Advertisements

Advertisements

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น