เรื่องสำคัญที่เราอาจเผลอลืม! แพทย์แนะวิธีสังเกตยาหมดอายุ ดูแบบนี้เอง นอกจากจะไม่หายจากโรคที่เป็นแล้ว ยังสร้างผลเสียต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีก ยาบางชนิดเมื่อเกิดการเสื่อมแล้วเราทานเข้าไปก็สามารถเกิดผลเสียร้ายแรงต่อตับและไตได้เลยทีเดียว ดังนั้นเราจึงนำวิธีสังเกตยาหมดอายุมาฝากกัน ดังนี้...
Photo By doomandbloom.net
ส่วนวันหมดอายุจะเขียนว่า Expiry Date หรือ Used before หรือ Expiring หรือ Use by แล้วตามด้วย วัน-เดือน-ปี ของวันที่ยาหมดอายุ ตัวอย่างเช่น Exp.date 30/07/11 หมายความว่า ยาจะหมดอายุในวันที่ 30 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2011
Photo By thehindubusinessline.com
การใช้ปาก จิบยาแก้ไอจากขวด (ไม่ควรทำเพราะจะไม่รู้ปริมาณยาที่แน่นอน) จะทำให้ยาปนเปื้อนและเสียได้ในเวลา 2-3 วัน
หากกินโดยการเทใส่ช้อน ปิดฝาอย่างดีและเก็บไว้ในตู้เย็น สัก 3 เดือนก็ควรนำไปทิ้ง ในกรณีที่เป็นยาเม็ดสามารถเก็บรักษาไว้ได้ 5 ปี นับจากวันที่ผลิต
การเฝ้าระวังหรือการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ชีวิตของเราปราศจากอันตราย จากการรับประทานยาที่เสื่อมคุณภาพและหมดอายุได้อย่างแน่นอน
ขอขอบคุณคำแนะนำจาก : รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/Content/29031-การสังเกตยาหมดอายุ.html
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น